การสูญเขาแพะ (Dehorning) อุปกรณ์ และวิธีการ

Christopher Baude
Written by Baude Christopher การตลาด
Updated: 2024-12-01
Black and white goat kid without horns

Table of Contents

เขาแพะ หรือในภาษาอังกฤษ คือ Horn แต่ไม่ใช่แพะทุกตัวที่จะมีเขา การจัดการกับเขาแพะสามารถทำได้ในครั้งเดียว ด้วยการเอาเขาแพะออกหรือที่เรียกว่า ‘การเอาตุ่มเขาแพะออก (Disbudding)’ ทันทีหลังคลอด เพราะหากคุณต้องการเลี้ยงแพะที่ไม่มีเขา แต่ไม่ได้เอาเขาออกตามระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อเวลาล่วงเลยไป คุณอาจต้องให้สัตวแพทย์ช่วยจัดการให้ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความเสี่ยง เพราะอาจเกิดรูชั่วคราวในไซนัสภายในกะโหลกศีรษะของแพะ และทำให้แผลหายช้า

สำหรับบางคนอาจชอบที่จะปล่อยเขาแพะไว้ ไม่เอาออก เนื่องจากมันดูสวยและเห็นถึงความเป็นธรรมชาติของแพะ แต่การปล่อยเขาแพะไว้จะดีหรือไม่ ถ้าต้องการเอาออกต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง มีวิธีการอย่างไร รวมถึงถ้าเอาเขาออกแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปยังมีเขางอกมาใหม่อีกจะมีวิธีการจัดการอย่างไร ในบทความนี้ Furry Farm มีคำตอบ

ควรสูญเขาแพะหรือปล่อยไว้

โดยทั่วไปแล้วการสูญเขาแพะ (Dehorning) ด้วยการเอาตุ่มเขาออก (Disbudding) จะนิยมทำในประเภทแพะนม ขณะที่แพะนมจะนิยมปล่อยเขาไว้ แต่ในขณะที่บางคนชอบใช้การเอาเขาออกด้วยการ Tipping (การตัดเขาแพะและทำให้เขาทื่อ)

สำหรับผู้ที่ชอบแพะไม่มีเขา เราเรียกแพะชนิดนี้ว่า ‘Polled goat’ เป็นแพะที่ไม่มีเขาตั้งแต่กำเนิด แต่จะมีปุ่มนูนอยู่สองข้างที่สามารถสัมผัสได้แต่มันจะไม่งอกยาวออกมา ลักษณะทางกายภาพของแพะโพลนี้ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งฝั่งจากพ่อหรือแม่ที่ไม่มีเขา แพะชนิดนี้พบได้มากในประเภทแพะนม

ทั้งนี้ ประเทศในเขตร้อนอย่างไทยเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฟาร์มหรือพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงแพะของคุณไม่มีร่มเงาจากต้นไม้หรือห่างไกลแหล่งน้ำ รวมถึงผู้ที่เลี้ยงแพะแคระหรือแพะสัตว์เลี้ยง เราแนะนำว่าควรเอาเขาแพะไว้ เพราะมันจะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายแพะให้เย็นลงได้

หากคุณกังวลกับแพะที่มีเขา ให้ลองใช้โฟมมาหุ้มรอบเขาและใช้เทปพันไว้ หรืออาจใช้ท่อพีวีซีครอบที่เขาของมันไว้ ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายจากเขาของมันได้ แต่เราไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้หากเห็นว่าแพะตัวอื่นกำลังแทะวัสดุที่พันรอบเขานี้ เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อระบบย่อยอาหารอุดตันได้

ในแพะบางสายพันธุ์ ลักษณะของการไม่มีเขาและเป็นแพะกะเทย (มีอวัยวะเพศของทั้งชายและหญิงในตัวเดียว) มีความเชื่อมโยงกัน การนำแพะที่ไม่มีเขามาผสมพันธุ์กัน มีโอกาสที่คุณจะได้แพะกะเทย

ข้อดีของการสูญเขาแพะ

Goat with horns looking at camera

ที่ Furry Farm เราไม่เคยตัดเขาแพะ เพราะเราเห็นว่าการมีเขาช่วยให้แพะระบายความร้อนได้ดีขึ้น และยังช่วยลดงานในการดูแลอีกด้วย

การสูญเขาด้วยการเอาตุ่มเขาออก เป็นสิ่งที่ดีต่อทั้งแพะและผู้เลี้ยง ดังนี้

  • ป้องกันเขาติดรั้ว: แพะที่มีเขายาวอาจทำให้หัวติดรั้วหรือเครื่องให้อาหารได้ จนบางครั้งอาจกลายเป็นคุณต้องตัดรั้วบางส่วนออก และคุณเองก็ไม่กล้าปล่อยแพะให้หัวติดกับรั้วอยู่อย่างนั้น แพะที่หัวติดกับรั้วมีความเสี่ยงที่ถูกแพะตัวอื่นทำร้ายได้โดยที่ไม่มีทางสู้กลับหรือไม่มีทางหนีไปได้ หากวันไหนมีแดดจัด แพะอาจเสียชีวิตด้าหากปล่อยมันไว้แบบนั้นนานเกินไป
  • ป้องกันการบาดเจ็บ: แพะมีเขาอันตรายกว่า พวกมันมีแนวโน้มที่จะใช้เขาถูหรือตีกับสิ่งปลูกสร้าง, รั้ว หรือเครื่องป้อนอาหาร แพะที่มีเขาอาจทำร้ายคุณ, สุนัขอารักขา รวมถึงแพะตัวอื่น ๆ ที่ไม่มีเขา ที่สำคัญ มันอาจทำร้ายคนอื่นด้วยซึ่งคุณต้องรับผิดชอบ
  • นิยมใช้ในการโชว์: แพะที่มีเขามักไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมโชว์ เนื่องจากอาจมีอันตรายอันเกิดจากเขาของพวกมันได้ และมันไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ซื้อขายแพะ ดังนั้น ศักยภาพโดยรวมทางการตลาดของแพะมีเขาจึงน้อยกว่าแพะที่เอาตุ่มเขาออกแล้ว
  • การรีดนม: หากคุณเลี้ยงแพะนมที่มีเขา ก่อนการรีดนมแพะตัวเมีย คุณจำเป็นต้องมีแท่นรีดนม พร้อมที่ล็อกศีรษะแบบพิเศษที่เขาของมันสามารถลอดเข้าไปได้

เมื่อไหร่ควรสูญเขาแพะ

การสูญเขาแพะด้วยการเอาตุ่มเขาแพะออก สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ลูกแพะมีอายุ 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรือถ้าเป็นแพะเพศผู้ควรเอาเขาออกภายใน 2 วันหลังคลอด ในขณะที่แพะเพศเมียมักจะไม่ค่อยมีเขา ดังนั้นการเอาตุ่มเขาออกสำหรับแพะเพศเมียจึงไม่ต้องรีบมากนัก แต่ก็ไม่ควรไม่ปล่อยให้เนิ่นนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้คุณทำงานได้ยากขึ้น และแพะอาจเจ็บปวดมากขึ้นโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ อาจทำให้เขางอกขึ้นมาใหม่มีลักษณะหงิกงอได้อีกด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

ก่อนการสูญเขาแพะ มีอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ดังนี้

  • กล่องบานพับทรงสี่เหลี่ยม สำหรับใส่ลูกแพะ ใส่เฉพาะลำตัว ให้หัวแพะยื่นออกมา แต่ถ้าคุณเลี้ยงแพะแคระคุณต้องเตรียมกล่องที่เล็กกว่าลูกแพะทั่วไป
  • กระบอกพร้อมเข็มฉีดยา ใส่สารต้านบาดทะยัก 1 ซีซี ซึ่งคุณสามารถหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป เป็นการป้องกันบาดทะยักให้ลูกแพะได้ประมาณ 10 – 14 วัน
  • เครื่องสูญเขาแพะไฟฟ้าและหัวเหล็ก
  • ยาแก้ปวด อาจใช้ยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์ก็ได้คู่กับยาต้านการอักเสบ นอกจากนี้อาจใช้แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟนก็ช่วยได้เช่นกัน แต่คุณต้องให้ยาเหล่านี้พร้อมกับมื้ออาหารของมัน
  • สเปรย์ฆ่าเชื้อสำหรับสัตว์ สามารถหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์
  • ขวดนมสำหรับปลอบใจลูกแพะ ตามความเหมาะสม

วิธีการสูญเขาลูกแพะ

Beige goat kid without horns

การสูญเขาแพะคุณต้องพิจารณาก่อนว่าจะไปหาสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์โดยเฉพาะหรือจะทำด้วยตัวเอง ทั้งนี้ หากจะให้สัตวแพทย์จัดการ คุณต้องมั่นใจว่าสัตวแพทย์เหล่านั้นมีประสบการณ์ตรงด้านนี้มาก่อน

การสูญเขาแพะโดยที่ไม่ได้ใช้ยาชา อาจทำให้ลูกแพะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น เฉลี่ยภายในระยะเวลา 20 วินาที แต่เพียงไม่กี่นาทีผ่านไปมันจะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว กลับกันหากใช้การดมยาสลบมันก็จะยังคงส่งเสียงร้องราวกับเจ็บปวดมากอยู่ดี จากนั้นมันจะใช้เวลาในการพักฟื้นอย่างน้อย 30 นาที

เราไม่แนะนำให้ใช้ครีมทาป้องกันไม่ให้เขางอก เนื่องจากมันเป็นสารเคมี และด้วยธรรมชาติของแพะ มันจะถูกันและกันซึ่งอาจทำให้เกิดการไหม้ หรืออาจเสี่ยงต่อการตาบอดได้

การสูญเขาลูกแพะ มีวิธีการซึ่งคุณสามารถนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้

  1. วอร์มเครื่องสูญเขาแพะ: รอให้เครื่องร้อนจะมีไฟสีแดงโชว์ ประมาณ 20 นาที
  2. ฉีดยากันบาดทะยักและยาบรรเทาปวด: ระหว่างการรอให้เครื่องสูญเขาร้อน ให้ฉีดยาดกันบาดทะยักและยาบรรเทาปวดให้เด็ก ซึ่งกว่ายาจะออกฤทธิ์จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
  3. จับลูกแพะเข้ากล่องไม้: โดยให้ตัวลูกแพะอยู่ในกล่อง โผล่ส่วนหัวออกมา หรือหากไม่ใช้กล่อง คุณสามารถให้ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งมาจับลูกแพะได้ โดยผู้ช่วยต้องสวมเสื้อแขนยาวและถุงมือหนา ๆ เพื่อป้องกันการจี้ไฟพลาด อันเนื่องมาจากลูกแพะดิ้น
  4. เล็มขนรอบตุ่มเขา: การเล็มขนแพะนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ขนไหม้และป้องกันควันเข้าตา ขณะที่คุณกำลังเอาเขาออก
  5. จี้ที่ตุ่มเขาแพะ: จับแพะให้แน่น แต่ให้มันยังหายใจได้ พร้อมกับจับเครื่องสูญเขาให้กระชับ วางเหล็กร้อนลงไปที่ตุ่มเขา ใช้แรงกด และโยกเบา ๆ รอประมาณ 8 วินาที ขณะที่ศีรษะของลูกแพะยังอยู่นิ่ง ๆ ซึ่งมันอาจจะดิ้นและร้องเสียงดังแต่ก็ไม่นาน ขณะที่แพะโตขึ้นมาสักหน่อยหรือแพะเพศผู้ สามารถจี้ที่เขาและทิ้งไว้นานได้มากกว่า 8 วินาที
  6. ทิ้งรอยแหวนทองแดงรอบตุ่มเขา: ตรวจสอบดูว่าคุณทิ้งร่องรอยของแหวนทองแดงที่ดูแห้งไว้แล้วที่รอบตุ่มเขาแล้วแบบนี้เป็นอันใช้ได้ แต่ถ้าเห็นว่าวงแหวนนั้นยังไม่รอบตุ่มเขา สามารถจี้เพิ่มได้อีกประมาณ 2 วินาที แต่ไม่ควรจี้เพิ่มนานกว่านี้แล้วสำหรับลูกแพะ ควรพักก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้กะโหลกศีรษะร้อนเกินไปและอาจเป็นการทำร้ายสมองได้
  7. เอาตุ่มเขาออก: ถอดส่วนตุ่มเขาที่อยู่ภายในวงแหวนทองแดงนั้นออกด้วยมือ หากมีเลือดออก คุณสามารถใช้เหล็กร้อนจี้เบา ๆ ที่จุดนั้นได้
  8. ทำซ้ำ: ตั้งแต่ข้อ 3 – 7 กับตุ่มเขาอื่น ๆ
  9. ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อ: ลูกแพะออกจากกล่อง พร้อมกับฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อบริเวณที่เขาถูกเหล็กจี้ ระวังอย่าให้สเปรย์เข้าตาลูกแพะ

หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดแล้ว ให้รางวัลปลอบใจลูกแพะด้วยขวดนมหรือนำลูกแพะให้อยู่ใต้แม่แพะเพื่อการดูแลต่อไป พยายามอย่าให้แม่แพะได้กลิ่นไหม้ที่หัวของลูกแพะ ไม่เช่นนั้นแม่แพะจะปฏิเสธทันที

การป้องกันและจัดการกับเขาที่งอกใหม่

การจี้เอาตุ่มเขาออกเป็นการเบิร์นผิวและตุ่มเขา ทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้น เขาแพะก็จะไม่งอกขึ้นอีก แต่บางครั้งก็อาจมีบ้างที่มีเลือดเข้าไปเลี้ยงได้ก็จะทำให้เขางอกขึ้นมาใหม่อาจมีลักษณะหงิกงอ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า Scurs

เขาแพะสามารถงอกมาใหม่ได้ โดยเฉพาะกับแพะเพศผู้ที่ไม่ได้จี้เอาเขาออกในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่ฐานของเขาแพะได้ขยายกว้างออกเมื่อลูกแพะโตขึ้น และยิ่งขยายออกได้เร็วขึ้นอีกเมื่อแพะเพศผู้เติบโตขึ้น ยิ่งโตเร็วเท่าไหร่คุณก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น การจะเอาเขาแพะออกทั้งจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย บางคนอาจจี้ถึง 8 รอบ บางคนจี้ 2 รอบ เพื่อป้องกันการงอกใหม่ (Scurs)

หลังการจี้เอาตุ่มเขาออกแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ ให้คุณเช็คผลลัพธ์ที่ได้ หากพบว่ามีการงอกใหม่ สามารถจี้ เพื่อเอาเขาออกได้ตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ข้างต้น

ในหลาย ๆ กรณีผู้เลี้ยงก็พบว่าเขาที่งอกมาใหม่ในแพะเด็กที่เติบโตขึ้น อาจเป็นการยากที่จะจับแพะเด็กใส่กล่องไม้อีกครั้ง การจับแพะให้อยู่นิ่ง ๆ เป็นเรื่องยากขึ้น ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จึงปล่อยเขาที่งอกใหม่ไว้อย่างนั้น และเมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ แพะเพศผู้มักจะใช้หัวโขกกันจนเขานั้นหลุดไปเอง

โดยทั่วไปแล้วเขาที่งอกใหม่มักไม่ค่อยมีปัญหา ยกเว้นว่ามันจะใหญ่มากขึ้นเป็นพิเศษ มันอาจมีเลือดออกหากมันแตกออก คุณอาจใช้วิธีฉีดยาฆ่าเชื้อและเฝ้าระวังควบคู่กันไป

เขาแพะที่งอกมาใหม่ หากมีขนาดที่ใหญ่อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับเขาแพะได้ ซึ่งอีกหนึ่งปัญหาของเขาที่งอกมาใหม่คือ เขาที่งอกเข้าไปใกล้กับดวงตาของแพะ ซึ่งคุณอาจแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้หลอดโฟมสำหรับว่ายน้ำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ติดกาวแล้วสวมที่เขาแพะก็ได้เช่นกัน วิธีนี้คุณอาจให้สัตวแพทย์ผู้มีประสบการณ์โดยเฉพาะช่วยได้

ทั้งนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพบว่าเขาที่งอกใหม่เกิดความเสียหายมากขึ้นและขยายเป็นวงกว้าง หรือมีเลือดไหลไม่หยุด คุณสามารถใช้เครื่องสูญเขาจี้ที่เขางอกใหม่นั้นได้ หรืออาจติดต่อสัตวแพทย์ทันที

บทสรุป

จริงอยู่ว่าการเลี้ยงแพะมีเขามันอาจดูสวยงามให้ความเป็นธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปแล้วสำหรับผู้ที่เลี้ยงแพะนมจะไม่นิยมปล่อยเขาไว้ ที่สำคัญ การปล่อยเขาแพะให้งอกยาวจะส่งผลเสียทั้งต่อแพะ, ผู้เลี้ยง และผู้อื่นได้

การสูญเขาแพะด้วยการเอาตุ่มเขาออก (Disbudding) สามารถทำได้ตั้งแต่แพะมีอายุ 1-2 สัปดาห์หลังคลอด หรือหากเป็นลูกแพะตัวผู้ สามารถจี้เอาเขาออกได้ตั้งแต่ 2 วันหลังคลอด หากเป็นแพะเพศเมียอาจไม่ต้องรีบเอาเขาออกเท่าแพะเพศผู้ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้นานเกินไป เพราะอาจจัดการยาก

การเอาตุ่มเขาออกสามารถใช้เครื่องมือสูญเขาด้วยเหล็กร้อนจี้ที่ตุ่มเขานานประมาณ 8 วินาที หรือถ้าหากยังไม่เห็นวงแหวนรอบตุ่มเขา สามารถจี้ต่อได้อีก 2 วินาที แต่ไม่ควรจี้มากกว่านี้สำหรับลูกแพะ เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะได้ ควรให้พักก่อนและค่อยทำต่อ

หลังการจี้เอาตุ่มเขาออกแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากพบว่ามีเขางอกออกมาอีก (Scurs) คุณสามารถใช้การจี้เอาตุ่มออกตามวิธีที่เราแนะนำไว้ข้างต้นได้ แต่ถ้าหากเขาที่งอกใหม่นั้นไม่ได้มีความใหญ่จนน่าเป็นกังวล คุณสามารถปล่อยมันไปได้และรอจนกว่าถึงฤดูผสมพันธุ์ แพะตัวผู้จะมีพฤติกรรมการโขกหัวกันและเขานั้นจะหลุดไปในที่สุด

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *