10 ข้อผิดพลาดทั่วไปที่ผู้เลี้ยงแพะทำครั้งแรก

Christopher Baude
Written by Baude Christopher การตลาด
Updated: 2024-12-03
Many unruly goats and a man in despair

Table of Contents

เมื่อคุณตัดสินใจที่ให้แพะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคุณ การเป็นเจ้าของแพะอาจเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและมีความสุขได้มาก อย่างไรก็ตาม การดูแลแพะไม่ใช่เรื่องง่าย เจ้าของแพะมือใหม่อาจพบกับข้อผิดพลาดบางประการที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของแพะในระยะยาว

ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเป็นเจ้าของแพะเป็นครั้งแรก ความรู้เกี่ยวกับข้อผิดพลาดทั่วไป เช่น เรื่องงบประมาณ เรื่องอาหาร และการจัดการทั่วไปเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การดูแลแพะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในบทความนี้ เราจะสำรวจและอธิบายเกี่ยวกับ 10 ข้อผิดพลาดทั่วไปที่เจ้าของแพะมักทำเป็นครั้งแรกว่ามีอะไรบ้างและวิธีการป้องกันหรือแก้ไขในแต่ละข้อกันอย่างไร

1. เลี้ยงแพะจำนวนมากเกินไป เร็วเกินไป

การซื้อแพะจำนวนมากในครั้งแรกจนเต็มศักยภาพของฟาร์ม จนลืมไปว่าแพะต้องมีการตั้งท้องซึ่งอาจไม่ใช่ครอกละ 1 ตัว บางตัวให้ลูกได้ 3-4 ตัว เมื่อลูกแพะเหล่านี้เติบโตขึ้น พื้นที่ฟาร์มจะแน่นเกินไป ที่สำคัญ แพะอาจติดเชื้อและคุณต้องเสียเงินไปกับค่าอาหารและอุปกรณ์อื่น ๆ มากมาย

อาจเริ่มจากแพะเพศเมีย 2 ตัว หากแม่แพะให้กำเนิดลูกแพะตัวผู้ เมื่อมันอายุได้ 2-3 เดือน แยกลูกแพะตัวผู้นี้ออก เราก็จะได้แพะตัวผู้ที่เอาไว้ผสมพันธุ์ (Buck) หรือไม่ก็ได้แพะตอน (Wether) แล้ว

2. มีความรู้น้อยเกินไป

บางคนคิดว่าเลี้ยงแพะคู่เดียวก็เพียงพอกับการสร้างรายได้แล้ว แต่ไม่รู้ว่ารั้วแพะสูงเท่าไหร่, คอกแพะเป็นอย่างไร หรืออะไรที่สามารถปกป้องแพะจากอันตรายได้

การเลี้ยงแพะอาศัยความรับผิดชอบสูง มันต้องการการดูแลที่ดีไม่ว่าจะเป็นการตัดแต่งกีบเท้า เพื่อป้องกันโรคพยาธิในแพะ คอกที่ปลอดภัย น้ำสะอาด และการให้อาหารที่เหมาะสม และอื่น ๆ ที่จำเป็น แพะต้องการเวลา, เงิน, การดูแล, ความรู้เพื่อการเติบโตและการเอาตัวรอด

การเลี้ยงแพะโดยปราศจากความรู้ คุณอาจได้ประสบการณ์การเลี้ยงแพะระยะสั้น ขณะที่มีรายจ่ายสูงกว่าที่วางแผนไว้

3. ประเมินต้นทุนต่ำเกินไป

ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงแพะประเภทแพะเนื้อ, แพะนม หรือแพะสัตว์เลี้ยง อย่าลืมประเมินต้นทุนค่าติดตั้งและต้นทุนอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ รั้วที่อาจต้องเปลี่ยนบ่อย, ยาที่จำเป็นอาจหมดอายุทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยได้ใช้ รวมถึงถังน้ำ และของใช้จิปาถะที่จำเป็นต่อการเลี้ยงแพะ

การไม่ได้เตรียมงบประมาณตั้งแต่แรก จะทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่มากกว่าได้ อาทิ ค่ารักษาพยาบาล, การสูญเสียพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือแม้แต่ความรำคาญจากการที่แพะหนี รวมถึงความยากในการควบคุมดูแลแพะในเวลาปกติ

4. จ่ายเงินมากหรือน้อยเกินไปในการซื้อแพะ

American boer goat white and brown

คุณจ่ายไป 15,000 บาท สำหรับพ่อพันธุ์บอร์อเมริกันแท้ตัวนี้ เป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ

ไม่ใช่แพะทุกตัวที่ได้รางวัลจะให้ปริมาณน้ำนมดี กล้ามเนื้อดี หรือมีรูปร่างสมส่วนจะเป็นผู้ผลิตที่ดี การซื้อแพะจากเว็บไซต์ที่ดีและขายแพะได้เป็นจำนวนมากหรือแพะที่ได้รับรางวัล เหล่านี้ไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้แพะคุณภาพเสมอไป

ค้นหาราคาของประเภทแพะที่คุณต้องการ เปรียบเทียบร้านค้า และอาจสอบถามผู้ซื้อรายอื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ในการซื้อแพะจากฟาร์มนั้น ๆ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความวิธีการซื้อแพะของเรา

5. มีแพะเพียงตัวเดียว

ดูเหมือนว่าการเลี้ยงแพะเพียงตัวเดียวจะเป็นทางออกของปัญหา แต่ความจริงแล้วแพะมักอยู่รวมกันเป็นฝูง การที่แพะอยู่เป็นคู่จะทำให้มันแข็งแรงและมีความสุข หากแพะไม่มีเพื่อนมันจะร้องและซึมเศร้า

สัตว์ประเภทอื่นอาทิ แกะ กระต่าย และม้าสามารถอยู่ร่วมกับแพะได้ แต่คุณต้องจำไว้ว่าสัตว์เหล่านี้ต้องอยู่กับแพะ การเลี้ยงสัตว์ประเภทอื่นร่วมกับแพะคุณต้องระวังเรื่องความต้องการสารอาหารที่ต่างกัน รวมถึงการติดเชื้อจากสัตว์อื่นด้วย ดังนั้น ควรเลี้ยงแพะเป็นคู่เสมอ

6. ซื้อแพะที่ไม่แข็งแรง

แพะที่อยู่ในงานประมูลแม้ว่าจะมีลักษณะทางกายภาพภายนอกแพะที่อาจดูดี แต่คุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสุขภาพแพะเป็นอย่างไร มันไม่เป็นที่ต้องการของฝูงหรือเปล่า หากคุณซื้อแพะป่วยเข้าฝูงมันอาจส่งผลให้แพะตัวอื่นป่วยตามได้

ก่อนซื้อแพะให้สอบถามเกี่ยวกับสุขภาพแพะ สุขภาพฝูง และตรวจสอบว่าแพะเป็นโรคหรือไม่ ทำสัญญาไว้ เพื่อให้คุณได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย หากพบภายหลังว่าแพะมีปัญหาสุขภาพมาก่อนหน้านี้ ยังมีสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนที่เป็นการบ่งบอกได้ว่าแพะป่วยหรือไม่ เราแนะนำให้ให้ศึกษาดูก่อน

7. ละเลยการดูแลและการจัดการ

การดูแลแพะอย่างเหมาะสมเป็นงานประจำวัน แพะต้องการอาหารและน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง ต้องมีการตัดแต่งกีบเท้าเป็นระยะ การดูแลรักษาทางการแพทย์ รวมถึงการตัดแต่งขนแพะ เป็นต้น

การละเลยการดูแลที่ต้องทำประจำเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มภาระให้คุณเอง เพราะต้องทำงานหนักเป็นสองเท่า และแย่กว่านั้นคือ แพะอาจเสี่ยงติดเชื้อจากการดื่มน้ำในถังสกปรก กินหญ้าแห้งจากพื้นดิน และเดินบนกีบที่ไม่ได้ตัดแต่ง การมีการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้การเลี้ยงแพะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

8. มองข้ามความต้องการอาหารของแพะ

Shredded banana stalk, pellets and CP goat food

นี่คือส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพของลำต้นกล้วย, อาหารเม็ด และอาหารแพะ CP ให้เป็นครั้งคราวแล้วแพะของคุณจะเจริญเติบโต

คุณคงไม่ต้องใส่ใจมากเรื่องอาหารหากคุณเป็นเจ้าของพื้นที่กว้างใหญ่ที่ปกคลุมด้วยหญ้าและวัชพืชหลากหลายที่แพะชอบ ซึ่งพวกมันชอบกินยอดใบไม้มากกว่าหญ้าที่พื้นดิน

แพะต้องการแร่ธาตุเสริมที่ต่างกันตามพื้นที่ที่คุณเลี้ยงมัน คุณจำเป็นที่จะต้องจัดหาอาหารเหล่านี้ให้แพะในปริมาณที่เหมาะสม หากเป็นแพะนมคุณควรให้อาหาร อาทิ ธัญพืช, หญ้าอัลฟาฟ่า และเมล็ดทานตะวัน แพะจะให้ปริมาณนมมากและไขมันสูง เป็นต้น

9. ใส่ใจแพะน้อยเกินไป

แพะสามารถกลับมาเป็นสัตว์ที่ดุร้ายได้ เพียงเพราะขาดการดูแลและการจัดการที่เป็นมิตร ผู้เลี้ยงบางคนเลือกที่จะดูแลแพะบางตัวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป แพะที่ถูกละเลยจะจับได้ยากมากขึ้นและดูแลได้ยากขึ้น

ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยระหว่างที่คุณให้น้ำหรือให้อาหารแพะ ให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับแพะด้วย นอกจากนี้ คุณยังสามารถตรวจสอบแพะได้อีกด้วยว่าแพะมีอาการป่วยหรือผิดปกติใด ๆ หรือไม่

10. ควรมีแพะตัวผู้ก่อนที่คุณจะพร้อม

การเลี้ยงแพะพ่อพันธุ์ (Buck) ไม่ใช่สำหรับทุกคนและไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่น่ารัก หากคุณเลี้ยงแพะนมหรือแพะเนื้อ เราแนะนำให้เช่าแพะพ่อพันธุ์จากฟาร์มที่คุณซื้อมา หรือไม่ก็รอเพาะพันธุ์เอง เพราะคุณจะประหยัดเงินค่าอาหารและการสร้างคอกมากกว่า รวมถึงที่อยู่อาศัยก็จะเหม็นปัสสาวะน้อยลง

แต่หากคุณซื้อแพะพ่อพันธุ์มาแล้ว และคุณได้ลูกแพะที่เป็นพ่อพันธุ์มาอีก เราแนะนำให้แยกคอก ไม่เช่นเช่นมันจะต่อสู้กันและคอกจะมีกลิ่นเหม็นมาก ดังนั้น วางแผนให้ดีก่อนซื้อแพะพ่อพันธุ์

บทสรุป

มือใหม่ที่ต้องการเลี้ยงแพะควรมีการวางแผนและการจัดการที่ดี เริ่มจากเรื่องของความรู้ในการเลี้ยงแพะ อาทิ การสร้างรั้วแพะ, การสร้างคอกแพะ, อาหาร, น้ำ และการดูแลอื่น ๆ ควรศึกษาว่าแต่ละส่วนมีรายละเอียดอย่างไร

งบประมาณที่ต้องจัดสรร เช่น เรื่องของคอกแพะ รั้วแพะ ค่ายา ค่าอาหาร และการซื้อแพะ เป็นต้น โดยเฉพาะก่อนการซื้อแพะคุณควรสอบถามผู้ขายอย่างละเอียด รวมถึงทำสัญญาให้เรียบร้อย

การจัดการกับแพะ อาทิ การเลี้ยงแพะควรเลี้ยงเป็นคู่เสมอ เพื่อให้มันไม่เหงาและไม่ซึมเศร้า เพราะแพะมักอยู่เป็นฝูง แต่หากคุณต้องการแพะพ่อพันธุ์คุณอาจใช้วิธีการเช่าแทนการซื้อ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่แพะที่เลี้ยงไว้ให้กำเนิดแพะตัวผู้ คุณต้องสร้างคอกแพะแยกออกมา

การเป็นผู้เลี้ยงแพะที่ดีประสบความสำเร็จได้ จำเป็นที่จะต้องมีการหาข้อมูลและการวางแผนที่ดี คุณไม่จำเป็นต้องลองผิดลองถูก เพียงแค่คุณนำข้อมูลข้างต้นของเราไปปรับใช้ เท่านี้การเลี้ยงแพะก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นมากแล้ว

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *